Saturday, November 23, 2019

เตือนระวัง โพสต์ด่าผ่านเฟซบุ๊ก เข้าข่ายหมิ่นประมาท ถูกปรับเป็นแสน

เตือนระวัง โพสต์ด่าผ่านเฟซบุ๊ก เข้าข่ายหมิ่นประมาท ถูกปรับเป็นแสน

เพจทนายนิด้า โพสต์ข้อความเตือนคนเล่นโซเชียล แนะอย่าโพสต์ด่าคนอื่นโดยพละการ เหตุเข้าข่ายถูกฟ้องหมิ่นประมาท เสี่ยงโดนปรับร่วมแสนบาท

เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา เพจ ทนายนิด้า ได้มีโพสต์ข้อความเตือนสติสำหรับคนเล่นโซเชียล โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ว่า ก่อนโพสต์ข้อความลงไปควรคิดให้ดี อย่าโพสต์ด่าใครสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะอาจทำให้ถูกปรับเงินเป็นแสนได้ เนื่องจากเข้าข่ายหมิ่นประมาท โดยมีข้อความระบุว่า

sony xperia sp back cover,sony xperia sp review,sony xperia sp display,sony xperia sp case,sony xperia sp price,sony xperia sp specifications,sony xperia sp hard reset,sony xperia sp battery,sony xperia sp c5303,sony xperia sp c5302,

#ด่าคนอื่นผ่านเฟสบุ๊ค อาจจะต้องเสียค่าด่าจำนวนถึง 300,000 บาท

เพิ่งบินไปยื่นฟ้องคดีที่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาไม่นาน กรณีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา #สวนคุณปู่ทุเรียนออร์แกนิค ให้ได้รับความเสียหาย คู่กรณีขอเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อขอให้ยุติคดี

นิด้าเตือนเสมอว่า ไม่พอใจอะไรอย่าด่า อย่าโพสต์สุ่มสี่สุ่มห้า ให้ไปดำเนินคดีตามกฎหมายเอา เกิดคนถูกด่าเขาไม่ยอม ไปฟ้องศาลเข้าให้ ศาลพิพากษาลงโทษขึ้นมาจะเสียประวัติเอา

ปล.มีคนถามตลอดว่าโดนหมิ่นประมาทเรียกเงินได้เท่าไหร่ ค่าหมิ่นประมาทไม่ใช่ราคาก๋วยเตี๋ยว ราคาไม่เท่ากันทุกชาม แล้วแต่คน แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความเสียหายที่ได้รับ พิจารณากันเป็นรายบุคคลค่ะ

#คดีอาญา #หมิ่นประมาท #หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

#ทนายนิด้า #ทนายหญิงสายลุย #ทีมทนายสายลุย

[เพิ่มเติม] รู้จักความผิดฐานหมิ่นประมาท

ในประมวลกฏหมายอาญา ซึ่งระบุถึงประเด็นเรื่องการหมิ่นประมาทอยู่ด้วยกันคือ

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตามมาตรา 326 ได้ระบุไว้ถึงการใส่ความ “ผู้อื่น” ซึ่งในประเด็นนี้จำเป็นที่จะต้องระบุให้รู้ได้ว่า ผู้อื่นที่เอ่ยถึงนั้นเป็นใคร หากไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร ก็ไม่เข้าข่ายความผิดในมาตรานี้

และคำว่า “ใส่ความ” นั้นเปิดกว้างไว้ อาจจะเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ ดังนั้นไม่ว่าเรื่องที่เราได้เอ่ยหรือใส่ความใคร ไม่ว่าเรื่องนั้นจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม มีความผิดในประเด็นนี้ทั้งสิ้น รวมทั้งกฏหมายมิได้ระบุลักษณะของวิธีการใส่ความอีกด้วย นั่นหมายความว่า ไม่ว่าเราจะใช้คำพูด เขียน บอกใบ้ต่างๆ ถือเป็นการใส่ความ และมีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ทั้งหมด

ตัวอย่างความผิดในคดีหมิ่นประมาท

“พระวัดนี้ ขี้เมาหัวราน้ำ” – แม้ว่าจะเป็นประโยคที่กล่าวลอยๆ ไม่ได้ระบุว่าเป็นพระรูปใด จึงหมายความได้ว่า เป็นการ “หมิ่นฯ พระทุกรูปในวัดนี้

“ไอ้-ัตว์ – ไอ้เ-ี้ย” – แม้ว่าคำเหล่านี้ จะถูกใช้ในการด่าผู้อื่น แต่ยังมิได้ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท เป็นเพียงคำหยาบเท่านั้น ซึ่งหากเราแค่โพสต์ ทวีต ข้อความเหล่านี้ ถือเป็นเพียงคำหยาบ ไม่ได้ถือเป็นการหมิ่นประมาทแต่อย่างใด

“นาย ก. เป็นชู้กับนาง ข. “ – ประโยคนี้ แม้ไม่คำหยาบคาย แต่ทำให้ นาย ก. ที่ถูกเอ่ยถึงนั้น ได้รับความเสียหายแล้ว จึงถือว่า การกระทำผิดสำเร็จแล้ว มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว จะมีการตรวจสอบพบว่า มีการรับใต้โต๊ะจริงก็ตาม แต่ผู้ที่ถูกกล่าวถึงได้รับความเสียหายจากการโพสต์ข้อความนั้น

แล้วอย่างไรถึงไม่หมิ่นประมาท!

ตามกฏหมายแล้ว เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป สามารถกล่าววิพาก วิจารณ์ได้โดยสุจริตได้ เช่น กรณีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าได้ทำใบปลิวแจกจ่าย มีข้อความกล่าวว่า

“พวกเราชาวแม่ค้าทั้งหลายต้องช่วยกันต่อต้านคนรวยทั้งหลายที่ชอบรับแก คนจนอย่างพวกเราแม่ค้าทั้งหลาย ตอนนี้สมาชิกสภาเทศบาลบางคนที่เป็นคนรวย ทำเรื่องระงับการก่อสร้างหลังคาคลุมแดด ที่ทางเทศบาลทำให้กับพวกเราแต่มีสมาชิกเทศบาล ซึ่งพวกเราได้อุตส่าห์เสียเวลาหยุดขายของไปเลือกมันมาเป็นผู้แทนของเรา พอเวลามันได้เป็นแล้วมันกับมาต่อต้านพวกเรา ซึ่งเป็นแม่ค้าขายของจน ๆ อย่างพวกเรา มันทำเรื่องร้องเรียนไปทางเทศบาลพวกเรารอง อ่านดูว่ามันทำถูกหรือทำผิด” ( ที่มาจาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2551 )

ซึ่งศาลได้เห็นว่า การกระทำของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าแม้ว่าจะมีข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์ แต่กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

หรืออีกกรณีหนึ่งมีจ้างทำการก่อสร้างสนามของทางราชการ ซึ่งมีผู้พบเห็นว่า งานไม่เรียบร้อย จึงได้นำเสนอว่า “สนามที่สร้างแบบสุกเอาเผากิน ทำไม่กี่วันก็เสร็จ” แม้ว่าจะมีการนำเสนอบทความระบุข้อความดังกล่าว ก็ถือว่า เป็นการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม และผู้ทำผิดเชื่อโดยสุจริตใจว่ามีมูลความจริง ถือเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งเป็นวิสัยที่จะกระทำได้ ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2537)

โซเซียลมีเดีย โพสต์แค่กลุ่มเพื่อน ก็หมิ่นประมาท

ในการโพสต์ ทวีต หรือแม้กระทั่ง รีทวีต ข้อความหมิ่นประมาท ก็ถือว่า เป็นการกระทำความผิดที่สำเร็จแล้ว หากผู้ที่ได้รับความเสียหาย พบเห็น ก็สามารถฟ้องร้องในเรื่องเหล่านี้ได้เช่นกัน

ยิ่งหากเป็นการ รีทวีต-แชร์โพสต์ ยิ่งทำให้โอกาสในการที่จะโดนความผิดฐานหมิ่นประมาทมีมากขึ้นหากผู้รีทวีตไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบโดยตรง

ดังนั้น บนโลกโซเซียลในทุกวันนี้ จึงควรระวังในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เพราะโอกาสที่เราจะกระทำผิดในฐานหมิ่นประมาทนั้น เกิดขึ้นได้ง่ายมาก แพร่กระจายได้เร็วนั่นเอง

Link Source : https://news.mthai.com/social-news/679924.html

การ สอบสวน คดี หมิ่นประมาท ทาง เฟส บุ๊ค,ตัวอย่าง คดี หมิ่นประมาท ทาง เฟส บุ๊ค,คดี หมิ่นประมาท ทาง เฟส บุ๊ค,

No comments:

Post a Comment