เจาะ 'โซลาร์เซลล์ หลังคาบ้าน' วิธีขายไฟคืนให้การไฟฟ้า พร้อม FAQ คำถามที่พบบ่อย
เปิดรายละเอียดโครงการ ‘โซลาร์ภาคประชาชน’
ในปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สร้างประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากมาย หนึ่งในนั้นคือการที่ผู้บริโภคสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองได้ แถมยังสามารถขายส่วนที่เหลือ จากส่วนที่สามารถผลิตได้ในช่วงที่ไม่อยู่บ้าน ส่งไปขายให้รัฐฯ ทำให้ผู้บริโภคที่เคยจ่ายเงินเพื่อแลกกับไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว มีศักยภาพที่จะผลิตและขายไฟฟ้าไปได้พร้อม ๆ กัน
ทั้งนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เตรียมเปิดโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สําหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (ปี 2562) ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่สนใจจะลงทุนติดตั้ง หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอยู่แล้วสามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ลดค่าไฟฟ้าที่ใช้เองภายในบ้าน และหากเหลือจากการใช้เองก็สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ โดยในเดือนนี้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเริ่มเปิดให้ผู้ที่สนใจร่วมโครงการ ลงทะเบียนและรับข้อเสนอโครงการ
ทั้งนี้ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดอัตราการรับซื้อไฟฟ้าประจำปี 2562 อยู่ที่ 1 บาท 68 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีระยะเวลาสนับสนุน 10 ปี ซึ่งผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สูงสุดได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ต่อราย โดยผู้ที่ยื่นคําขอขายไฟฟ้าจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าของไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย โดยชื่อผู้ยื่นคําขอฯ เป็นชื่อเดียวกับในบิลค่าไฟฟ้าเท่านั้น และยังคงสถานะเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ากับไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอยู่
โดยบ้านที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ซึ่งขอขนานกับการไฟฟ้าเพื่อใช้ไฟเองเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการได้ โดยหากผ่านการคัดเลือกแล้วจะต้องยกเลิกสัญญาหรือการเชื่อมต่อที่มีอยู่เดิม ก่อนการลงนามสัญญาเข้าร่วมกับโครงการนี้
อย่างไรก็ตามในวันนี้ ทีมข่าว MThaiNews จะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ‘โซลาร์ รูฟท็อป’ ภาคประชาชน และพลังงานจาก ‘โซลาร์ เซลล์’ ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย และต้องมีสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้า ไม่สามารถทำได้เองอย่างอิสระ โดยมีคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาภาคประชาชน และรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ รวมถึงคุณสมบัติผู้ร่วมโครงการดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง กกพ. เปิดรับยื่นคำร้องใช้ โซล่าเซลล์ พ.ค. 62 พร้อมรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 1.68 บ.
‘โซลาร์ เซลล์’ คืออะไร
โซลาร์เซลล์ มีชื่อเรียกหลายอย่าง อาทิ เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์สุริยะ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ถูกค้นพบมาตั้งแต่ ปี 1839 ตั้งแต่เซลล์แสงอาทิตย์ยังไม่ถูกสร้างขึ้นจนกระทั่งในปี 1954 จึงมีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ และได้ถูกนำไปใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับดาวเทียมในอวกาศเมื่อปี 1959
ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์
ระบบผลิตไฟฟ้า ‘โซลาร์ เซลล์’ มี 3 ระบบได้แก่
หลักเกณฑ์เบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการ ‘โซล่า รูฟท็อป’ ภาคประชาชน
พื้นที่ดำเนินการ ของการไฟฟ้านครหลวง ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานครนนทบุรี และสมุทรปราการ สำหรับพื้นที่ดำเนินการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 74 จังหวัดที่อยู่นอกเหนือจากพื้นที่ดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวง
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
วิธีการรับซื้อใช้ระบบ ‘ใครยื่นก่อนได้ก่อน’
ส่วนวิธีการรับซื้อจะใช้ระบบ ใครยื่นก่อนได้ก่อน (First come First serve) ผ่านระบบ Online ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ Grid Code ในปัจจุบัน และจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตผ่านระบบ Online ของสำนักงาน กกพ. โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ
ขั้นตอนในการดำเนินการ ประกอบด้วย
ไทม์ไลน์การจัดซื้อไฟฟ้าโซลาร์ภาคประชาชนจาก สำนักงาน กกพ.
ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐบาลจะได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศ และสถาบันอาชีวะศึกษา มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ ที่ในแต่ละปีคาดว่าจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000-20,000 ระบบ เป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี
[FAQ] รวมคำถามที่พบบ่อย ในโครงการ’โซลาร์ รูฟท็อป’
Q : จำเป็นต้องมีหลักฐานแสดงความพร้อมทางด้านการเงิน หรือวางหลักค้ำประกันด้วยหรือไม่ A : ตามหลักเกณฑ์ของโครงการนี้ในปี 2556 ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแสดงความพร้อมทางการเงิน ผู้ยื่นคำขอควรจะหาการค้ำประกันระบบผลิตไฟฟ้าจากบุคคลที่สามตามที่เหมาะสม แต่เงื่อนไขของโครงการในปีนี้ ยังไม่มีประกาศออกมาแน่ชัด
Q : สามารถยื่นคำขอขายไฟฟ้าได้ที่ไหนบ้าง A : ผ่านระบบ Online ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
Q : หลังผ่านการพิจารณาจะต้องทำอะไรต่อ A : ต้องไปติดต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ภายในระยะเวลาที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายกำหนด เพื่อเปลี่ยนเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นประเภทดิจิทัลและชำระค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า การตรวจสอบระบบอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ กกพ. กำหนด
Q : เมื่อทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายแล้ว สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้ผู้อื่นได้หรือไม่ A : จะต้องได้รับการยินยอมจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายก่อนตามหลักเกณฑ์ที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายกำหนด
Q : การติดตั้งเพื่อขายไฟให้การไฟฟ้า’โซลาร์ เซลล์’ จะกระทบต่อการใช้ไฟในบ้านหรือไม่ A : ไม่เกี่ยวกับการใช้ไฟในบ้าน โดยเจ้าของบ้านก็จ่ายเงินค่าไฟฟ้าไปตามปกติ ส่วนไฟฟ้าที่ใช้ขายคือการแปลงสภาพหลังคาบ้าน เป็นโรงผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก และขายคืนให้กับการไฟฟ้า
Q : ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ทุกประเภทหรือไม่ A : ทุกประเภทสามารถติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ได้ เพราะหลังคาเป็นส่วนที่รับแรงน้อยมาก โดยหลังคาที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
Q : หากมีการลักลอบนำไฟฟ้าจากแหล่งอื่นมาจำหน่ายแทนไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์จะมีผลอย่างไร A : โทษหนักมาก เพราะถือเป็นการละเมิดสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะสิ้นสุดลงในทันที รวมทั้งจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และจะถูกเรียกเก็บค่าปรับ และถูกเรียกคืนค่าไฟฟ้าที่ได้รับจากการจำหน่ายไฟฟ้าเต็มจำนวนที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้จ่ายให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าไปแล้วอีกด้วย
Q : การไฟฟ้าจะรับไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาบ้านเราอย่างไร A : โดยทั่วไป กระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลได้สองทาง ซึ่งการไฟฟ้าจะส่งไฟฟ้ามาทางไหน การไฟฟ้าก็จะรับคืนไฟฟ้าไปทางนั้น โดยเมื่อติดแผงโซล่าร์เซลล์แล้ว จะต้องมี “มิเตอร์ขายไฟ”เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตัว เพื่อรับไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาบ้านคืนกลับไปยังการไฟฟ้า
Q : ต้องมีแบตเตอรี่เก็บไฟก่อนขายให้การไฟฟ้าไหม A : ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่
Q : แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีอายุการใช้งานนานเท่าไร A : ประมาณ 20-30 ปี
Q : ต้องใช้เวลานานแค่ไหน จึงจะคืนทุน A : ราว ๆ 6-16 ปี
Q : ตึกแถว-อาคารพาณิชย์ เข้าโครงการนี้ได้ไหม ? A : บ้านอยู่อาศัยที่เป็นตึกแถวบางราย ไม่สามารถจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังแสงอาทิตย์ เพราะการไฟฟ้าจัดให้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก ไม่ใช่บ้านอยู่อาศัย จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์
Q : โครงการนี้ใช้ระบบผลิตไฟฟ้า ‘โซลาร์ เซลล์’ แบบใด A : ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าแบบออนกริต (on Grid) หรือ ระบบขายไฟ ซึ่งตามกฎหมายไม่อนุญาตให้ผลิตเองโดยปราศจากการขออนุญาตจากภาครัฐ เพราะระบบจะเชื่อมต่อกับมิเตอร์ของการไฟฟ้า ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้
Q : 2 หน่วยงานแบ่งหน้าที่กันอย่างไร A : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับซื้อไฟฟ้าจากคนที่อยู่ต่างจังหวัด ส่วนการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลจะเป็นผู้ขายไฟฟ้าให้
ผลประโยชน์จากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาภาคประชาชนส่งผลดีต่อประเทศไทยอย่างไร
ขอบคุณข้อมูลจาก วารสารวิจัยพลังงาน
ผลกระทบจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาภาคประชาชน
ผู้ประกอบการบางรายใช้อุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพต่ำเพื่อลดต้นทุนของโรงไฟฟ้าทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า และเมื่อไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าทำให้ภาครัฐเกิดความไม่แน่นอนในการวางแผนด้านอุปทาน (supply) สำหรับการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในอนาคตได
แม้การใช้โซลาร์ เซลล์จะมีประโยชน์มากมาย แต่ในอีกมิติหนึ่ง โซลาร์เซลล์นั้นย่อมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา และจะหมดอายุการใช้งานใน 20-30 ปี หลังการติดตั้งใช้งาน โดยเมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุการใช้งานก็อาจจะกลายมาเป็นขยะพลังงานมากมายมหาศาล ที่ก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้
ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายให้หาแนวทางที่จะลดปัญหามลพิษก่อนกำจัดซากแผงโซลาร์เซลล์ เนื่องจากประเทศไทยมีการใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ มาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งจะจะทยอยหมดอายุในปี 2565-2601 และเป็นไปได้ว่าอาจมีซากแผงโซลาร์เซลล์สะสม สูงถึง 6.2 -7.9 แสนตัน
กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษจากแผงโซลาร์เซลล์การดำเนินงานไว้ 3 แนวทางได้แก่
“พร้อมมีแนวคิดให้มีการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานซ่อมแซมแผงโซลาร์เซลล์และโรงงานรีไซเคิล ซากแผงโซลาร์เซลล์ โดยมีเป้าหมาย ที่จะจัดตั้งโรงงานใน 10 จังหวัดปริมณฑลและตามหัวเมืองในแต่ละภูมิภาค จังหวัดละ 10 แห่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีโรงงานทั้ง 2 ประเภทรวมกันประมาณ 100 แห่ง
นอกจากนี้จะทยอยอนุญาตให้จัดตั้งในแต่ละจังหวัดต่อไป “อย่างน้อย ต้องมีโรงงานประเภทดังกล่าวจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อรองรับการซ่อมแซมและรีไซเคิลซากแผงโซลาร์เซลล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดปัญหาการกำจัดซากแผงโซล่าเซลล์ที่จะเกิดขึ้นได้ถึง 90% คิดเป็น 5.6 – 7.1 แสนตัน”
พื้นที่ห่างไกลไฟฟ้ายังไม่เข้าถึง ก็ผลิตไฟฟ้าใช้เองได้จาก ‘โซลาร์เซลล์’ แบบออฟกริต (Off Grid)
ระบบออฟกริต คือระบบที่ผลิตไฟฟ้าจาก ‘โซลาร์เซลล์’ ที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ใช้งานมากที่สุดทั่วโลกระบบนี้เหมาะกับสถานที่ไม่มีไฟฟ้า หรือที่ไฟเข้าไม่ถึง ซึ่งการเดินลากสายไฟยาว ๆ เข้ามาใช้นั้นมีต้นทุนสูง และไม่คุ้มค่า สามารถทำได้โดยเสรีไม่ต้องขออนุญาตภาครัฐ เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า และความปลอดภัยของประชาชน
โดยระบบนี้มีแบตเตอรี่เก็บไฟไว้ใช้ในตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงแดดได้ ซึ่งระบบจะนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์ เซลล์ มาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ แล้วจึงนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งาน
ทั้งนี้ทั้งนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ดำเนินการโครงการผลิตไฟฟ้าแบบออฟกริตด้วยพลังน้ำขนาดเล็กร่วมกับชุมชนและขายไฟฟ้าให้แก่ชุมชนโดยไม่ได้ใช้ระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าแบบเสรีแบบออฟกริต
อย่างไรก็ตาม แต่เดิมที่กิจการไฟฟ้าของประเทศไทยเป็น “ระบบผู้ซื้อรายเดียว” (Enhanced Single Buyer) คือ กลุ่มรัฐวิสากิจต่าง ๆ ต่อจากนั้นรัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับผู้บริโภครายใหญ่ ผู้บริโภครายย่อย และประชาชน โดยเอกชนไม่สามารถซื้อขายไฟฟ้ากันเองหรือขายตรงให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้ แต่ในทุกวันนี้ ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ในการผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ และยังสามารถขายไฟฟ้าคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้อีกด้วย
ทั้งนี้แม้จะมีความกังวลว่า โครงการ ‘โซลาร์ภาคประชาชน’ นั้นอาจก่อผลเสียในด้านการก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนมือเจ้าของบ้านของประชาชน แต่ก็มีข้อดีอยู่หลายประการ คือคุ้มค่าและลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ประหยัดงบประมาณของชาติไปได้มากมาย แถมยังเป็นโครงการที่รักษ์โลก เพราะลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าได้มหาศาล นอกจากนี้ระยะทางก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ก็สามารถเข้าร่วมในโครงการนี้ได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก www.enmax.co.th
No comments:
Post a Comment